ที่อยู่ 109 หมู่ 10 บ้านหัวแฮด ต.ธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 46130
โทรศัพท์ 0-4383-0085, 08-4703-2801, 08 -9714-6525, 08-9941-3878
วัน/เดือน/ปีเกิด 8 มิถุนายน 2509
การทำกสิกรรมธรรมชาติ ปลูกผักไร้สารพิษ ทำปุ๋ยและปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อให้เกิด
การพึ่งตนเอง การทำน้ำมันสบู่ดำ น้ำมันไบโอดีเชล
ปี 2546 นายเฉลิมศักดิ์เป็นประธานศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติกาฬสินธุ์
ปี 2547 เป็นคณะกรรมการเกษตรอินทรีย์จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ในการร่วมมือกับหลายๆ หน่วยงาน ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเกษตรกมลาไสย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โดยต้องการให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งหวังจะผลักดันให้เกิดสมัชชา เกษตรอินทรีย์กาฬสินธุ์ โดยใช้ ต.ธัญญา เป็นพื้นที่นำร่อง และหวังขับเคลื่อนการเกษตร อินทรีย์ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ที่มีการกำหนดให้จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นครัวของอีสาน เป็นแหล่งผลิตเกษตรอินทรีย์ และศูนย์กลางของการผลิตเห็ด ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด
(นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์) ที่กำหนดไว้ว่า “ภายในปี 2551 กาฬสินธุ์จะเป็นแหล่งผลิตอาหารคุณภาพ ปลอดภัยชั้นนำของภาคอีสาน ด้วยการทำเกษตรที่ดี หรือการเกษตรที่อยู่กับวิถีธรรมชาติ การเป็น เมืองน่าอยู่ และเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้” ทำให้เครือข่ายเกษตรพัฒนากาฬสินธุ์ ตั้งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2543 ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ประสานงานโครงการเกษตรผสมผสานหรือเดิมคือ โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลเบลเยี่ยม ที่สนับสนุนให้เกษตรกรใน จ.ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหาร นครพนม และ อำนาจเจริญ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องเข้าฝึกอบรมเทคนิคการผลิต
- เกษตรกรดีเด่นจังหวัดกาฬสินธุ์ (สาขาทำนา)
ที่ตั้ง 109 หมู่ 10 บ้านหัวแฮด ต.ธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ 46130
ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดจากรวมตัวกันของเกษตรกร กลุ่มหนึ่งที่เคยเข้าร่วมโครงการกับภาครัฐ เช่น โครงการ คปร. โครงการฟื้นฟูการเกษตร โครงการ เกษตรผสมผสาน เป็นต้น เกษตรกรที่มารวมกันมีทั้งเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ และเกษตรกร ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม ได้จัดเวทีขึ้นเพื่อร่วมกันหาทางออกช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
หลักสูตรกสิกรรมธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย การเผาถ่าน การทำน้ำมันสบู่ดำ การทำน้ำมันไบโอดีเซล การปลูกผักไร้สารพิษ การทำนาไร้สารพิษ การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การเลี้ยงปลาในระบบเกษตร
ผสมผสาน การทำลวดหนาม การทำโรงสีด้วยมือ การผสมอาหารสัตว์ และการขยายพันธุ์พืช
อาคารที่ใช้สำหรับอบรมที่สามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้จำนวน 60 คน มีห้องน้ำ และ สิ่งอำนวยความสะดวก มีแปลงการเกษตรและฐานงานต่างๆ ให้ศึกษาเรียนรู้ และอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมสำหรับให้การอบรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น