วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555




เพาะต้นกล้ามะม่วงขายได้ราคางาม

  มะม่วงตลับนาค  หรือทางภาคเหนือ  เรียกมะม่วง  กุลาลืมตึก  นับได้ว่าเป็นมะม่วงที่มีลักษณะพิเศษคือ  ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้งได้ดี  หาอาหารเก่ง  เจริญเติบโตเร็ว  ไม่ต้องรดน้ำให้ปุ๋ย  หรือพ่นสารเคมีใด ๆ  ก็สามารถออกดอกติดผลดกทุกปี  ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  เกษตรกร  หรือ  ผู้ผลิตกล้าพันธุ์ไม้เพื่อจำหน่าย  จึงนิยมนำเอาเมล็ดมะม่วงตลับนาคมาทำเป็นต้นในการผลิตกิ่งมะม่วงพันธุ์ดีขาย หรือจะขายเป็นต้นตอให้เกษตรกรนำไปปลูกลงในแปลงช่วงต้นฤดูฝน  และจะทำการเปลี่ยนยอดพันธุ์ดี  ต่อไปในฤดูฝนหน้า
สำหรับเกษตรกรมืออาชีพโดยทั่วไป  จะใช้ต้นตอมะม่วงตลับนาคไปปลูกในแปลงต้นฤดูฝน  หลังจากปลูกรดน้ำตามครั้งเดียว  แล้วจะปล่อยให้มะม่วงหากินเอง  และประมาณเดือนมิถุนายนหลังจากเก็บผลมะม่วงเสร็จแล้ว จะเริ่มแตกยอดอ่อน    ก็สามารถตัดเอายอดมะม่วงพันธุ์ที่ท่านต้องการมาเปลี่ยนยอดที่แปลงโดยวิธีการเสียบยอดแบบเสียบข้าง  วิธีนี้จะลดขั้นตอนในการดูแลมะม่วงในแปลงปลูกและลดต้นทุนลงได้มากทีเดียว  ส่วนวิธีการที่ผู้ผลิตกิ่งพันธุ์จำหน่ายก็จะใช้มะม่วงตลับนาคเป็นต้นตอในการผลิตกิ่งพันธุ์  โดยวิธีการทาบกิ่ง  การเสียบยอดแบบเสียบลิ่มโดยไม่มีใบติด  การเสียบยอดแบบเสียบลิ่มโดยมีใบติด  (ต้องอบในถุงพลาสติกเพื่อป้องกันการคายน้ำ) การเสียบข้าง  มะม่วงพันธุ์ดีที่ผู้ผลิตทำจำหน่ายได้แก่  น้ำดอกไม้เบอร์ 4  น้ำดอกไม้สีทอง  เขียวเสวย  โชคอนันต์  มหาชนก  มันขุนศรี  อาร์ทูอีทู  และอื่น ๆ  เพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป  ราคาที่จำหน่ายขึ้นอยู่กับขนาดของกิ่งพันธุ์และอายุ  ต้นโต  อายุมากก็จะแพง  มีตั้งแต่  25  บาท  ถึงต้นละ  500  บาท  เลยที่เดียว



สำหรับขั้นตอนและวิธีการเพาะเมล็ดมะม่วงตลับนาคมีดังนี้
1. มะม่วงตลับนาคที่แก่แล้ว  ประมาณต้นเดือนมิถุนายน  ก็ใช้ทำพันธุ์ได้แล้ว ราคากิโลกรัมละ 1.50 – 2.00 บาท
2.  นำมาปลอกเนื้อออก  จนเห็นเมล็ด
3.  ถ้าเป็นมะม่วงที่สุกต้องบี้เนื้อออกแล้วล้างน้ำ
4.  นำไปผึ่งให้แห้งจะแกะเมล็ดได้ง่ายไม่ลื่น
5.  ใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งตัด ลอยเว้าด้านข้างเมล็ด ระวังอย่าให้ตัดโดนเนื้อมะม่วงดังภาพ
6.  ใช้คีมปลายแหลมคีบม้วนเปลือกหุ้มเมล็ดออก
7.  นำเมล็ดไปเพาะในแปลงเพาะ  หรือเพาะในถุงพลาสติก  (ทำเป็นการค้าหรือมืออาชีพนิยมเพาะในแปลงเพาะ)
วัสดุเพาะ

- ดิน    1  ส่วน
- ขี้เถ้าแกลบหรือแกลบดิบหรือทราย    1  ส่วน

วิธีการเพาะเมล็ดมะม่วงในแปลง
- ผสมแกลบและดินให้เข้ากัน
- ขึ้นแปลงโดยยกแปลงให้สูงอย่างน้อย 10ซม.แล้วทำร่องเพาะเมล็ดโดยให้ลึกประมาณ 5-6 ซม.
- นำเมล็ดมะม่วงที่แกะเปลือกแล้วลงเพาะในแปลง โดยคว่ำส่วนเว้าของเมล็ดมะม่วงลง
- กลบเมล็ดมะม่วง โดยให้ดินที่ฝังกลบหนาประมาณ 2 – 3 ซม. แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
8.  เมื่อเมล็ดงอกประมาณ  3  อาทิตย์ย้ายจากแปลงลงถุงดำวัสดุ
- ถุงดำขนาด  5 x 8  นิ้ว
-  ดิน 1 ส่วน
- แกลบดิบ 1  ส่วน
-  ขี้วัวแห้งที่ผุหรือย่อยสลายแล้ว 1 ส่วน
9.  หลังจากรากติดแล้วก็จำหน่ายได้  หรือเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีได้  ต้นตอ มะม่วงตลับนาคขนาด  อายุ  6  เดือนถึง  1  ปี  ราคาขายประมาณ  15 – 20  บาท

-ข้อมลอ้างอิง-
http://www2.it.mju.ac.th/dbresearch/raen/index.php/newspeaper2011/284-mango-tree






วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555



ชื่อข้อมูล    นายสนาม อินหันต์ 

 ข้อมูลประเภท   ปราชญ์ชาวบ้าน  
(รหัสข้อมูล ) 

สถานที่ตั้ง    
เลขที่    7 หมู่ที่/หมู่บ้าน  3 บ้านท่าลี่ 
ซอย    - ถนน   สิทธิประสงค์  
ตำบล    ท่าลี่  อำเภอ   ท่าลี่  
จังหวัด     
ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ 
เขตแผนที่ (Zone)   47  พิกัด-x = 0757033 เมตรตะวันออก พิกัด-y = 1949713 เมตรเหนือ 
ตำแหน่งแผนที่ (Map Position) : Datum = Indian Thailand ; Grid = UTM ; Distance Unit = Meters (เมตร) 
การเข้าถึงข้อมูล  
ชื่อบุคคลอ้างอิง   นายสนาม อินหันต์  อีเมล์   - 
ชื่อหน่วยงานอ้างอิง   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย อีเมล์  loei@m-culture.go.th  
เลขที่  - หมู่ที่/หมู่บ้าน  - ซอย  - 
ถนน   เจริญรัฐ  ตำบล   กุดป่อง  อำเภอ   เมืองเลย  
จังหวัด    รหัสไปรษณีย์   42000 
หมายเลขโทรศัพท์  0 – 4286 - 1319  หมายเลขโทรสาร  0 – 4286 - 1320 
ที่อยู่ของเว็บไซต์  http://intranet.m-culture.go.th/loei/ 






ชื่อ-สกุล             นายเฉลิมศักดิ์ ถนอมสิทธิ์


ที่อยู่                   109 หมู่ 10 บ้านหัวแฮด ต.ธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์  46130
โทรศัพท์            0-4383-0085, 08-4703-2801, 08 -9714-6525, 08-9941-3878
วัน/เดือน/ปีเกิด   8 มิถุนายน 2509




            การทำกสิกรรมธรรมชาติ ปลูกผักไร้สารพิษ  ทำปุ๋ยและปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อให้เกิด         
การพึ่งตนเอง การทำน้ำมันสบู่ดำ น้ำมันไบโอดีเชล 


            ปี 2546 นายเฉลิมศักดิ์เป็นประธานศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติกาฬสินธุ์ 
            ปี 2547 เป็นคณะกรรมการเกษตรอินทรีย์จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ในการร่วมมือกับหลายๆ หน่วยงาน ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานเกษตรกมลาไสย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ โดยต้องการให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งหวังจะผลักดันให้เกิดสมัชชา เกษตรอินทรีย์กาฬสินธุ์  โดยใช้ ต.ธัญญา เป็นพื้นที่นำร่อง และหวังขับเคลื่อนการเกษตร อินทรีย์ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ที่มีการกำหนดให้จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นครัวของอีสาน เป็นแหล่งผลิตเกษตรอินทรีย์ และศูนย์กลางของการผลิตเห็ด ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด
(นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์) ที่กำหนดไว้ว่า “ภายในปี 2551 กาฬสินธุ์จะเป็นแหล่งผลิตอาหารคุณภาพ ปลอดภัยชั้นนำของภาคอีสาน ด้วยการทำเกษตรที่ดี หรือการเกษตรที่อยู่กับวิถีธรรมชาติ การเป็น เมืองน่าอยู่ และเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้” ทำให้เครือข่ายเกษตรพัฒนากาฬสินธุ์ ตั้งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2543 ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์ประสานงานโครงการเกษตรผสมผสานหรือเดิมคือ โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลเบลเยี่ยม ที่สนับสนุนให้เกษตรกรใน จ.ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหาร นครพนม และ อำนาจเจริญ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องเข้าฝึกอบรมเทคนิคการผลิต  


            - เกษตรกรดีเด่นจังหวัดกาฬสินธุ์ (สาขาทำนา)





            ที่ตั้ง    109 หมู่ 10 บ้านหัวแฮด ต.ธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์  46130       



             ศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เกิดจากรวมตัวกันของเกษตรกร กลุ่มหนึ่งที่เคยเข้าร่วมโครงการกับภาครัฐ เช่น โครงการ คปร. โครงการฟื้นฟูการเกษตร โครงการ เกษตรผสมผสาน  เป็นต้น  เกษตรกรที่มารวมกันมีทั้งเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ  และเกษตรกร ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรม ได้จัดเวทีขึ้นเพื่อร่วมกันหาทางออกช่วยเหลือซึ่งกันและกัน





             หลักสูตรกสิกรรมธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย การเผาถ่าน การทำน้ำมันสบู่ดำ การทำน้ำมันไบโอดีเซล การปลูกผักไร้สารพิษ การทำนาไร้สารพิษ การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การเลี้ยงปลาในระบบเกษตร 
ผสมผสาน การทำลวดหนาม การทำโรงสีด้วยมือ  การผสมอาหารสัตว์ และการขยายพันธุ์พืช





             อาคารที่ใช้สำหรับอบรมที่สามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้จำนวน 60 คน มีห้องน้ำ และ           สิ่งอำนวยความสะดวก มีแปลงการเกษตรและฐานงานต่างๆ ให้ศึกษาเรียนรู้ และอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมสำหรับให้การอบรม






ชื่อข้อมูล    นายนุพงษ์ เก่งกว่าสิงห์ (ประดิษฐ์ใบตอง พานบายศรี)  

 ข้อมูลประเภท   ปราชญ์ชาวบ้าน  
(รหัสข้อมูล 40_02_5) 

สถานที่ตั้ง  บ้านหัน  
เลขที่    284 หมู่ที่/หมู่บ้าน  2 
ซอย    - ถนน   - 
ตำบล    กุดเค้า อำเภอ   มัญจาคีรี 
จังหวัด    ขอนแก่น 
ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ 
เขตแผนที่ (Zone)   48 Q  พิกัด-x = 208792 เมตรตะวันออก พิกัด-y = 1787651 เมตรเหนือ 
ตำแหน่งแผนที่ (Map Position) : Datum = Indian Thailand ; Grid = UTM ; Distance Unit = Meters (เมตร) 
การเข้าถึงข้อมูล  
ชื่อบุคคลอ้างอิง   นายสุรศักดิ์ ธาดา อีเมล์   - 
ชื่อหน่วยงานอ้างอิง   สภาวัฒนธรรมอำเภอมัญจาคีรี อีเมล์  - 
เลขที่  265 หมู่ที่/หมู่บ้าน  13 ซอย  - 
ถนน   เกษตรวัฒนา ตำบล   กุดเค้า อำเภอ   มัญจาคีรี 
จังหวัด   ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์   40160 
หมายเลขโทรศัพท์  0892783602 หมายเลขโทรสาร  - 
ที่อยู่ของเว็บไซต์  - 




ชื่อข้อมูล    พิธีสะเดาะเคราะห์(นายวิโรจน์ คำนะ) 

 ข้อมูลประเภท   ปราชญ์ชาวบ้าน  
(รหัสข้อมูล 55_02_1) 

สถานที่ตั้ง  บ้านนายวิโรจน์ คำนะ  
เลขที่    39 หมู่ที่/หมู่บ้าน  10 
ซอย    - ถนน   - 
ตำบล    นาน้อย อำเภอ   นาน้อย 
จังหวัด    น่าน 
ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ 
เขตแผนที่ (Zone)   47  พิกัด-x = 0679233 เมตรตะวันออก พิกัด-y = 2025291 เมตรเหนือ 
ตำแหน่งแผนที่ (Map Position) : Datum = Indian Thailand ; Grid = UTM ; Distance Unit = Meters (เมตร) 
การเข้าถึงข้อมูล  
ชื่อบุคคลอ้างอิง   นายสิน ศรีพรม อีเมล์   - 
ชื่อหน่วยงานอ้างอิง   สนง.วัฒนธรรม อ.นาน้อย อีเมล์  - 
เลขที่  52 หมู่ที่/หมู่บ้าน  1 ซอย  - 
ถนน   - ตำบล   นาน้อย อำเภอ   นาน้อย 
จังหวัด   น่าน รหัสไปรษณีย์   55150 
หมายเลขโทรศัพท์  0899989862 หมายเลขโทรสาร  - 
ที่อยู่ของเว็บไซต์  -